แกงจืดตำลึงหมูสับ (ตำรับนี้รับประทานได้ประมาณ 5 คน)

 

Template 01
Template 01
Template 01
       “แกงจืดตำลึงหมูสับ”  เป็นเมนูอาหารที่มีคุณประโยชน์มากมาย ปรุงง่ายไม่ยุ่งยาก  ตำลึง มีรสชาติอร่อย เป็นผักที่ไม่มีรสขม รับประทานง่าย  ปลูกได้ไม่ยาก ตำลึงมักถูกเรียกว่า รั้วกินได้ เพราะมักปลูกเป็นรั้วบ้าน แล้วยังสามารถขึ้นได้เองตามธรรมชาติถือเป็นผักริมรั้วที่ปลอดสารพิษ และราคาไม่แพง มีทุกฤดูกาล โดยพาะฤดูฝน
คุณค่าอาหารทางโภชนาการ
        อาหารประเภทนี้ เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย เป็นอย่างยิ่ง ตำลึงเป็นผักข้างรั้วที่ขึ้นง่าย แล้วก็มีให้เราเก็บรับประทานได้ตลอดปี ในสมัยโบราณเราก็จะมีการปลูกตำลึงไว้ที่รั้วบ้าน มีการศึกษาวิจัยถึงประโยชน์ของตำลึงค่อนข้างมาก  การศึกษาวิจัยของสถาบันโภชนาการพบว่าตำลึง เป็นผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง เป็นแหล่งของวิตามินเอที่ดีมาก นั่นหมายถึงว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระขณะเดียวกันสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ที่ช่วยในเรื่องของภูมิต้านทาน ช่วยในเรื่องของการมองเห็น  ถ้าขาดวิตามินเอ ร่างกายของเราก็จะอ่อนแอ อาจจะเกิดโรคติดเชื้อค่อนข้างง่าย มีงานวิจัยที่พบว่า ตำลึง เป็นแหล่งของสารฟลาโวนอยด์ที่ดีแล้วก็สามารถช่วยในการป้องกันโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน หรือว่าโรคมะเร็งได้ นอกจากนั้น ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาพบว่าตำลึงสามารถช่วยลดน้ำตาล และสถาบันโภชนาการเอง ก็ศึกษาพบว่า ตำลึงมีแคลเซียมค่อนข้างสูง และแคลเซียมที่อยู่ในตำลึง ร่างกายสามารถดูดซึมเอาไปใช้ได้เทียบเท่ากับแคลเซียมที่อยู่ในนม เพราะฉะนั้นในผู้ที่ไม่สามารถดื่มนมได้ เนื่องจากแพ้นม หรือดื่มนมแล้วท้องเสีย ก็หันมารับประทานตำลึงให้มากขึ้น ก็จะช่วยให้ได้รับแคลเซียมไปช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ซึ่งก็เหมาะทั้งเด็กและผู้สูงอายุที่ต้องการแคลเซียมมากกว่าวัยอื่นๆ ดังนั้นหันมากินตำลึงหมูสับกันเถอะ
 
ส่วนผสม
วิธีทำ
- ใบตำลึง
3
ถ้วยตวง
- หมูสับ
100
กรัม
- ซีอิ๊วขาว
½
ช้อนโต๊ะ
- น้ำซุปกระดูกหมู            
3 ¼
ถ้วยตวง
- รากผักชี
1
ช้อนชา
- พริกไทย
¼
ช้อนชา
- กระเทียม
4
กลีบ
- เกลือ                 
½
ช้อนชา
 
 
1.
โขลกรากผักชี พริกไทย กระเทียม ให้ละเอียดเข้ากัน ตักใส่ถ้วย นำเนื้อหมูสับลงไปคลุก ใส่ซีอิ๊วเล็กน้อย  คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ ประมาณ 5 – 10 นาที
2.
นำน้ำซุปใส่ในหม้อแกง ตั้งไฟให้เดือด นำหมูที่หมักไว้ปั้นเป็นก้อน ใส่ลงในหม้อ รอสักครู่ให้หมูสุกปรุงรสโดยใส่เกลือ
3.
ใส่ตำลึงที่เตรียมไว้ลงไป ตั้งจนไฟเดือดต่ออีกสัก 4 – 5 นาที ยกลง ตักใส่ชามเสิร์ฟ
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล
วิทยากรการปรุงอาหาร...อทิตดา บุญประเดิม
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ
Go to Top