สมุนไพรไทยที่ใช้เป็นประจำ

          กระเทียม และสารสกัดจากกระเทียมเป็นเครื่องเทศที่ได้รับความสนใจศึกษาค่อนข้างมากโดยพบว่าสารประกอบกำมะถัน ได้แก่ thiosulfinate คือ Alliin และ allicin หรือสารประกอบพวก diallyl sulfide diallyl disulfide มีบทบาทในการรักษาและป้องกันโรคบางโรคได้ อาทิ น้ำมันที่ได้จากการกลั่นกระเทียม สารสกัดน้ำ และอัลกอฮอล์จากกระเทียม   สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด allicin มีฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิตัวกลมและพยาธิปากขอ กระเทียมสด น้ำกระเทียม กระเทียมบ่มสกัด มีฤทธิ์ในการลดระดับไขมันและโคเลสเตอรอลในเลือดของสัตว์ทดลอง และมีฤทธิ์อย่างอ่อนในการลดความดันโลหิต      ช่วยยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือดที่เป็นผลจากการศึกษาทั้งในหลอดทดลองและในสัตว์ กระเทียมช่วยกระตุ้นการเกิด fibrinolytic จึงช่วยในการสลายลิ่มเลือดได้ จึงช่วยลดการเกิดหลอดเลือดอุดตัน และยังพบว่าเมื่อให้สารสกัดจากกระเทียมในสัตว์ทดลองจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของกระต่างและหนูขาวลดลง

    Image

          พริก เป็นพืชหรือเครื่องเทศไทยที่ได้รับความสนใจและทำการศึกษาค่อนข้างมากเช่นกันและมีการใช้ในการรักษาหรือระงับความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาของการทำงานของระบบประสาท สำหรับบทบาทของพริกในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น พบว่าพริกสดมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการเกิด fibrinolysis และมีผลอย่างเฉียบพลันในการลดการแข็งตัวของเลือด และต่อมาได้มีการศึกษาเพื่อหาวิธีสกัดสารสำคัญจากพริก คือสาร capsicinoids และนำไปทำการศึกษาดูบทบาทของสารสำคัญในพริกต่อหลอดเลือดที่ถูกกระตุ้นโดย norepinephrine ซึ่งคาดว่าการขยายตัวของหลอดเลือดนี้เกิดจากสาร capsaicin ในพริก และยังพบว่าทั้ง capsaicinoids และ capsaicin มีฤทธิ์ยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือด โดยที่ capsaicin มีฤทธิ์ในการยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือดได้ดีกว่า capsaicinoids และยังพบว่า capsaicinioids และ capsaicin กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่บริเวณผิวหนังของอาสาสมัคร
          บทบาทของสาร capsaicin ในพริกต่อการป้องกันการเกิดมะเร็ง ได้มีการศึกษาค่อนข้างมากแต่อย่างไรก็ตามยังพบความขัดแย้งของผลการศึกษา จึงยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าสาร capsaicin สามารถยับยั้งการก่อกลายพันธ์หรือป้องกันการเกิดมะเร็งได้หรือไม่

    Image

         ขิง สารสกัดจกาขิงเป็นสารประกอบจำพวก essential oil ได้แก่ Zingiberene, curcumene, sesquiphellandrene และ bisabolene นอกจากนี้ยังมีสารที่ให้รสเผ็ด ได้แก่ gingerol และ shogaols สารเหล่านี้มีสรรพคุณหลายอย่างเช่น ฤทธิ์แก้อาเจียน ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มหรือการจับตัวของเกร็งเลือด โดยพบว่าสารสกัดจากขิงด้วย hexane และ chloroform ยับยั้งการทำงานของ enzyme thromboxane synthase ขิงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบจากการศึกษาให้ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบและผู้ที่มีความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ รับประทานผงขิงทำให้ลดอาการปวดและบวมลงได้

    Image

         ขมิ้น สารสีเหลืองในขมิ้นคือ curcumin ที่สกัดได้จากเหง้าของขมิ้นชัน ไม่มีผลต่อการเกิดมะเร็งที่ปอดและที่นมของหนูทดลอง และยังพบว่าสารโปรตีนที่สกัดจากขมิ้นชันด้วยน้ำ (aqueous extract) มีฤทธิ์ของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สำหรับสารสกัดจากขมิ้นชันที่สกัดด้วยอัลกอฮอล์ยังมีฤทธิ์ป้องกันเชื้อราและป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

    Image

         ตะไคร้ การศึกษาส่วนใหญ่เป็นการศึกษาฤทธิ์ของการสกัดจากตะไคร้หรือน้ำต้มตะไคร้ในการลดความดันโลหิตและการป้องกันการเกิดมะเร็ง โดยพบว่าสารสกัดจากตะไคร้มีผลในการลดความดันโลหิตในสัตว์ทดลองและมีฤทธิ์ในการยับยั้งฤทธิ์ก่อการกลาย (mutation) โดยเฉพาะจากสารอะฟลาทอดซิน โดยการลดระดับของ cytochrome P450

    Image
       
    Go to Top