แกงเลียง (ตำรับนี้รับประทานได้ประมาณ 6 คน)

 

Template 01
Template 01
Template 01
       “แกงเลียง” เป็นแกงไทยโบราณ ที่มีน้ำแกงไม่ใส หรือข้นเกินไป รสชาติเค็มพอดี มีรสเผ็ดร้อนจากพริกไทย แต่ไม่เผ็ดจัดจนเกินไป เครื่องแกงเลียงมีพริกไทย หอมแดงและกะปิเป็นหลัก ส่วนประกอบจะเน้นที่ผัก มากกว่าเนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นผักพื้นบ้าน ที่หาง่าย เช่น ฟักทอง บวบ น้ำเต้าอ่อน ตำลึง หัวปลี และผักที่ขาดไม่ได้คือใบแมงลักซึ่งทำให้แกงเลียงมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์
คุณค่าอาหาร

        แกงเลียง เป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์พิเศษ แกงเลียงจะเป็นอาหารที่ง่ายแต่ว่าไม่คุ้นลิ้นสำหรับคนที่ไม่ชอบความเผ็ดของพริกไทย ส่วนประกอบของผักในแกงเลียงก็มีความหลากหลาย จากชนิดของผักที่ใส่ในแกงเลียง  แกงเลียงจึงเป็นแกงที่น่าสนใจ สถาบันโภชนาการ จึงให้ความสนใจแกงเลียง เพราะนอกจากจะเป็นอาหารที่มีพลังงานต่ำมาก แต่มีใยอาหารสูง ขณะเดียวกันก็มีคุณค่าทางโภชนาการประเภท วิตามิน แร่ธาตุ แล้วยังมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายๆ ชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน หรือฟลาโวนอยด์ที่ช่วยในการป้องกันโรคได้
         สถาบันโภชนาการทำการศึกษาวิจัยทั้งในเซลและหนูทดลอง เพื่อศึกษาดูว่าแกงเลียงสามารถช่วยลดการอักเสบของปฎิกิริยาต่างๆ ได้หรือไหม จากการศึกษาในเซลพบว่า แกงเลียงช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นในเซลต่างๆ ได้ นอกจากนี้การศึกษาในหนูทดลอง โดยให้หนูทดลองกินแกงเลียงไประยะหนึ่ง แล้วให้กินสารก่อมะเร็งเข้าไป เป็นระยะๆ  2 ครั้ง หลังจากนั้นก็นำหนูทดลองมาศึกษา พบว่าหนูทดลองที่กินแกงเลียงมาก่อนหน้านี้แล้วก็มาเจอกับสารก่อมะเร็ง เมื่อเทียบกับหนูทดลองที่ไม่ได้กินแกงเลียง กินเฉพาะอาหารปกติ พบว่า หนูที่ได้รับแกงเลียง สามารถลดความผิดปกติที่เกิดจากสารก่อมะเร็งได้ประมาณเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็เป็นสัญณาญที่บ่งบอกว่าหากเรารับประทานแกงเลียง  แกงเลียงก็สามารถช่วยในการลดอนุมูลอิสระหรือลดอันตรายที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งความเป็นพิษที่เข้าสู่ร่างกายได้  แกงเลียงเป็นอาหารไทยโบราณชนิดหนึ่งที่เหมาะที่จะนำมาบริโภคเป็นประจำ  เพราะเป็นอาหารที่ไม่ให้พลังงานสูงมากนัก สามารถรับประทานได้บ่อย เพราะจะให้ใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ตลอดจนสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

 
ส่วนผสม:พริกแกง
วิธีทำ
- พริกไทยเม็ด
¾     
ช้อนชา
- หัวหอมแดงซอยหยาบ
½
ถ้วยตวง
- กะปิ
1 ½
ช้อนโต๊ะ
- กุ้งแห้งป่นอย่างดี           
1
ถ้วยตวง
- น้ำต้มผัก (น้ำซุป)
3 ¼
ถ้วยตวง
- น้ำ
5
ถ้วยตวง
- น้ำปลา
17
กรัม
ผัก
      
- ฟักทอง (ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้น)
1
ถ้วยตวง
- ใบแมงลัก
5
ถ้วยตวง
- ใบตำลึง
3
ถ้วยตวง
- บวบ (หั่นเฉียง)
1 ½ 
ถ้วยตวง
- เห็ดฟางตูม
24
ชิ้น
- น้ำเต้า (หั่นเป็นชิ้น)
1  
ถ้วยตวง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1.
โขลกพริกไทย กะปิ หัวหอม ให้ละเอียด ใส่กุ้งแห้งป่นอย่างดี โขลกรวมกัน
2.
บวบเหลี่ยมล้างสะอาด ปอกเปลือกหั่นแฉลบ
3.
ฟักทองปอกเปลือก ฝานไส้ออก ล้างน้ำให้สะอาดหั่นขนาดพอคำ (กว้าง 1.5 หนา 1.5  ยาว 2.5 เซนติเมตร)
4.
น้ำเต้าปอกเปลือกถ้าเป็นไส้อ่อนไม่ต้องควักไส้ หั่นชิ้นขนาดพอคำ (กว้าง 2.3 ยาว 2.5 หนา 1.5 เซนติเมตร)
5.
ใบแมงลัก ใบตำลึง ล้างให้สะอาด เด็ดใบแยกไว้
6.
เห็ดฟางเกลาดินออกให้หมดล้างน้ำหั่นกลางผ่า 2 ซีก
7.
นำน้ำเปล่า 5 ถ้วยตวง (1188 กรัม) ใส่ภาชนะตั้งไฟให้เดือด นำบวบเหลี่ยม ฟักทอง น้ำเต้า เห็ดฟาง ลวกพอสุกตักขึ้นพักไว้  เวลาที่ใช้ในการลวกผักประมาณ 4,3,6,2 นาที ตามลำดับ (ลวกผักเพื่อให้สีผักยังคงสดสีสวยไม่เป็นสีตายนึ่ง)
8.
ละลายส่วนผสมพริกแกงกับน้ำลวกผักที่เหลือประมาณ 3 ½ ถ้วยตวง พอเดือดปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่ใบตำลึง ใบแมงลัก พร้อมทั้งผักที่ลวกไว้ทั้งหมด  คนให้ทั่วปิดไฟ ยกลงเสิร์ฟขณะร้อน ๆ
 
เคล็ดลับความอร่อย
1.
แกงเลียงที่อร่อยผักจะต้องสด ใหม่ จึงจะทำให้น้ำแกงหวานโดยธรรมชาติ และหอมน้ำพริกแกง
2.
ควรรับประทานขณะร้อน ๆ
3.
แกงเลียงมักจะรับประทานกับน้ำพริกกะปิ
   
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล
วิทยากรการปรุงอาหาร...อทิตดา บุญประเดิม
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ
Go to Top