“แกงเร่วป่า” เร่วหอม ใช้ ราก ซึ่งมีกลิ่นหอมเป็นเครื่องเทศปรุงน้ำก๋วยเตี๋ยว แกงเลียง แกงป่า ผัดเผ็ด และน้ำต้มเนื้อ เหง้ามีกลิ่นหอมและมีน้ำมันหอมระเหยเป็นองค์ประกอบ รับประทานสดหรือใช้ต้มน้ำซุปก๋วยเตี๋ยว เร่วป่า ฤดูเก็บเกี่ยว คือช่วงปลายฤดูร้อน ประมาณเดือนมีนาคมถึงต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม ส่วนที่นำมาบริโภคคือลำต้นด้านใน หัว และยอดอ่อน ได้แก่ แกงเผ็ด แกงป่า เป็นต้น มีคุณค่าทางโภชนาการได้แก่ ใยอาหาร และโปตัสเซียม มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพโดยรวม และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างต่ำ | ||
คุณค่าอาหารทางโภชนาการ |
||
แกงเร่วป่า วัตถุดิบที่สำคัญที่ใช้คือ เร่วป่า “เร่ว” เป็นพืชในตระกูลเดียวกับขิง หรือข่า มีหัวอยู่ใต้ดิน ส่วนที่เราจะนำมาใช้บริโภคหรือทำเป็นอาหาร คือตัวลำต้นอ่อน ที่โผล่ พ้นดินขึ้นมา ซึ่งก็คล้ายๆ กับต้นข่า ในหลายภูมิภาค นิยมนำเอาต้นข่าอ่อนมาทำอาหารกินกัน เพราะฉะนั้น ทางภาคตะวันตก นอกจากจะใช้หัวเร่วแล้ว เขาก็ยังใช้ต้นอ่อนมาทำอาหาร |
||
แกงเร่วป่า อาจจะไม่ได้มีคุณค่าทางโภชนาการมากนัก แต่มีประโยชน์คือ มีใยอาหารค่อนข้างดี ไม่ใช่สารอาหาร แต่เป็นสิ่งที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับ ซึ่งในข้อกำหนดสารอาหารนี้แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยคือ ควรบริโภคผักอย่างน้อย วันละ 400 กรัม ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ในผักและผลไม้มีใยอาหาร ใยอาหารจะเข้าไปช่วยในเรื่องของการทำความสะอาดของทางเดินอาหารช่วยให้ระบบขับถ่ายของเราเป็นปกติ ซึ่งก็จะส่งผลให้ไม่มีสารพิษตกค้าง จึงเป็นข้อดีของการบริโภคผัก ส่วนในเรื่องของการทำแกงป่า ท่านที่รู้จักก็จะทราบว่า แกงเร่วป่า เป็นแกงที่มีรสชาติจัดจ้านแล้วก็มีเครื่องแกงที่หลากหลาย เช่น มีทั้งพริกชี้ฟ้า หอมแดง ตะไคร้ กระเทียม พริก พริกพราน ผิวมะกรูด ข่า และที่สำคัญก็มีกะปิใส่เข้าไปด้วย ซึ่งกะปิ ก็จะเป็นกะปิมอญ เอกลักษณ์ของภาคตะวันตก นอกจากนี้ก็จะมี ดอกเทียน ซึ่งดอกเทียนของภาคตะวันตก กับภาคเหนือ จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน ก็คือใส่ดอกเทียนเพื่อให้ความหอมในการทำอาหาร ดอกเทียนนิยมใช้ใน แกงป่าและลาบ ดอกเทียนนับเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง จึงเห็นได้ว่า ในเรื่องของความหลากหลายของเครื่องเทศและสมุนไพรที่ใส่ลงไปนั้น จะเป็นตัวที่ทำให้รสชาติในอาหารดี มีกลิ่นหอม นอกจากนั้นในเครื่องเทศก็จะมี สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพบางอย่าง ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างที่เราทราบกันทั่วไป พืชผักสมุนไพรนอกจากจะให้คุณค่าทางโภชนาการแล้ว ก็ยังให้สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ซึ่งในหลายๆ ภูมิภาค ก็เอายาสมุนไพรมาเป็นยารักษาโรคด้วย เพราะฉะนั้นการรับประทานอาหาร ลักษณะที่เป็นพืชสมุนไพร หรือเป็นพืชพื้นบ้านก็ตาม นอกจากจะให้รสชาติที่ดี มีสุขภาพที่ดีแล้ว ก็ยังเป็นการช่วยให้เรากินอาหารที่หลากหลาย เพราะว่าการเอาผักพืชบ้านมาทำอาหาร ช่วยให้เรา หมุนเวียน เปลี่ยนชนิดของผักที่รับประทาน ซึ่งแตกต่างจากคนในเมืองที่บริโภคผักไม่กี่ชนิด นับเป็นการบริโภคที่ซ้ำซาก ซึ่งจะไม่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนั้น พืชผักพื้นบ้านจะไม่มีสารเคมีต่างๆ เข้ามาปนเปื้อน สารเคมีก็จะเป็นอันตรายแล้วอาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เพราะฉะนั้นจึงอยากรณรงค์ให้ทุกท่านบริโภคผักพื้นบ้านต่างๆ ให้มากขึ้น |
||
![]() |
||
![]() |
||
ส่วนประกอบเครื่องปรุงแกง |
วิธีทำเครื่องแกง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิทยากรการปรุงอาหาร...นงนุช จันทร์ยอง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |