แกงหน่อไม้(ตำรับนี้รับประทานได้ประมาณ 4 คน)

 

Template 01
Template 01
Template 01

     แกงหน่อไม้   บางคนก็เรียก แกงลาว บางคนก็เรียก แกงเปรอะ ลักษณะก็คล้ายกัน คือ ต้องมีใบย่างนางเป็นส่วนประกอบหลัก  ใบย่านางจะช่วยเรื่องแก้ความขื่นและขมของหน่อไม้ได้เป็นอย่างดี เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เอาทั้ง 2 อย่างมารวมกัน ใบย่านางเป็นพืชหาง่าย คุณสมบัติเป็นสมุนไพร นิยมคั้นเอาน้ำจากใบมาทำเป็นอาหาร มากกว่ารับประทานใบสด

     สำหรับแกงหน่อไม้ เป็นอาหารอิสานที่มีส่วนประกอบในการทำไม่ยุ่งยาก ประกอบด้วย หน่อไม้สด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วลวกหรือต้ม เพื่อล้างความขม และสารบางอย่างในหน่อไม้ออกไปเสียก่อน ส่วนประกอบอื่นก็มี พริก หอม ตะไคร้ ใบย่านาง ข้าวเบือ น้ำตาลทราย น้ำปลาร้า แล้วก็น้ำสะอาด สำหรับทำน้ำแกง ในส่วนของผักก็แล้วแต่ชอบ เช่น ผักขะแยง ใบแมงลัก ฝักทอง ยอดฝักทอง

คุณค่าอาหารทางโภชนาการ

       หน่อไม้ เป็นอาหารที่นักโภชนาการแนะนำว่าก่อนรับประทานต้องทำให้สุกเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเอง โดยควรต้มหน่อไม้อย่างน้อย 10 นาที เพื่อทำลายสารไซยาไนด์ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในหน่อไม้ ส่วนแกงหน่อไม้ก็ไม่ต้องเป็นห่วงมากนักเกี่ยวกับว่าหน่อไม้จะสุกหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามเวลาแกงก็ไม่ต้องใจร้อน นอกจากหน่อไม้แล้ว เวลาทำแกงหน่อไม้สิ่งที่เป็นคู่กันมาก็คือ ย่านาง ที่ให้รสชาติเข้ารสกันกับหน่อไม้มาก การนำใบย่านางมาประกอบอาหารก็เป็นเหมือนกับการนำเอาสมุนไพรมาปรุงประกอบในครัวเรือน นอกจากความเป็นสมุนไพรของตัวใบย่านางแล้ว ในด้านโภชนาการ ใบย่านาง มีวิตามินเอ ในลักษณะรูปแบบของเบต้าแคโรทีน และก็มีวิตามินซี นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แคลเซียมและธาตุเหล็ก ซึ่งมีในปริมาณที่ไม่น้อยทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราได้โขลกและคั้นน้ำให้ได้สารอาหารเหล่านั้นออกมาใช้ประกอบอาหารได้มากน้อยเพียงใด แต่เมนูนี้เป็นจุดเด่น เพราะว่าโดยทั่วไปการปรุงอาหารโดยใช้สมุนไพรบางอย่างจะรับประทานได้ครั้งละไม่มาก แต่ในกรณีของเมนูนี้ เราใช้ใบย่านางมาทำเป็นตัวน้ำซุปทำให้เราสามารถได้รับสมุนไพรชนิดนี้เป็นจำนวนมากในแต่ละครั้งในการรับประทาน และอีกจุดเด่นหนึ่งคือ เราสามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารในเมนูนี้ได้โดยอาจจะนำฟักทองเข้ามาเสริม ตัวฟักทองเองนอกจากจะมีเบต้าแคโรทีนโดดเด่นที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นวิตามินเอให้เราในร่างกายแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างอื่นๆ ด้วย แล้วจุดเด่นอีกอย่างก็คือ ในแต่ละครั้งเราสามารถรับประทานในปริมาณไม่น้อยเลย แล้วก็ยังได้รสหวานของตัวฟักทองมาช่วยให้เกิดความสมดุลกับรสเค็มในการปรุงแต่งเมนูนี้ ทำให้เกิดความกลมกล่อม ที่ในภาษาอีสานของเราเรียกว่า “นัวนัว”

 
ส่วนประกอบเครื่องปรุงแกงหน่อไม้
วิธีทำแกงหน่อไม้
- หน่อไม้สด
283
กรัม
- ใบย่านาง
42
กรัม
- หอมแดง
33
กรัม
- พริกสด
8
กรัม
- พริกหลอ/โดด
8
 กรัม
- ตะไคร้
22
กรัม
- น้ำตาลทราย
3
กรัม
- น้ำปลาร้า
43
กรัม
- ผักขะแยง
20
กรัม
- ฟักทอง
77
กรัม
- ยอดฟักทอง  
57
กรัม
- ใบแมงลัก  
30
กรัม
- ข้าวเบือแช่ (แช่น้ำ)
22
กรัม
- น้ำสะอาด  
750
กรัม
1.
สำหรับการทำหน่อไม้นั้น ก่อนอื่นเราต้องเอาใบย่านาง มาตำรวมกับข้าวเบือ ซึ่งก็คือข้าวเหนียวที่แช่น้ำ ตำให้ละเอียดแล้วนำไปกรอง เอาแต่น้ำมาใช้เป็นน้ำแกง
2.
เครื่องแกงของ แกงหน่อไม้ก็ไม่มีอะไรมาก แค่พริกกับหอม เอามาโขลกรวมกัน ให้พอหยาบ ๆ
3.
เอาน้ำแกงที่คั้นจากใบย่านางที่เตรียมไว้แล้วมาตั้งไฟ เอาเครื่องแกงใส่ลงไปละลายรวมกัน ตั้งไฟต่อ จนน้ำแกงเริ่มร้อนก็ใส่หน่อไม้ลงไปในหม้อ เติมน้ำปลาร้า ตะไคร้ น้ำตาล แล้วตั้งไฟต่อ โดยไฟไม่ต้องแรงมากนัก
4.
พอน้ำแกงเดือด โรยพริกหลอหรือพริกโดดลงไป
5.
ใส่ฟักทองแล้วต้มต่อ จนดูแล้วฟักทองอ่อนตัว ก็ใส่ยอดใบฟักทอง ผักขะแยง แล้วก็ใบแมงลัก ต้มให้ผักต่าง ๆ เข้ากัน แค่นี้ก็พร้อมเสริฟแล้ว สำหรับ แกงหน่อไม้ ของชาวอีสาน
 
 
   
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรพร จิตต์แจ้ง
วิทยากรการปรุงอาหาร...ไสว หงส์คำ
เผยแพร่วันที่...15 ธันวาคม พ.ศ.2557
โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ
Go to Top