ปัญหาโภชนาการในประเทศไทย

        ปัญหาโภชนาการในประเทศไทย ข้อมูลทางโภชนการเท่าที่มีอยู่ก่อนการจัดทำแผนอาหารและโภชนาการแห่งชาติ เพื่อบรรจุเข้าในแผนพัฒนาระยะที่ 4 นั้น มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย และมักจะเป็นผลจากรายงานการวิจัยหรือการสำรวจเฉพาะพื้นที่หรือรายงานสถิติจากโรงพยาบาลและศูนย์สาธารณสุขต่างๆ อย่างไรก็ดี คณะทำงานเพื่อจัดทำแผนได้รวบรวมข้อมูลเท่าที่ได้และสรุปปัญหาโภชนาการของประเทศ ที่สำคัญ 7 อย่าง คือ

         ลักษณะของปัญหา ความรุนแรง และสาเหตุของการขาดอาหารแตกต่างกันไปตามกลุ่มอายุด้วยเหตุผลทางสรีรวิทยา แบบแผนการได้อาหาร การปฏิบัติ ความเชื่อในเรื่องอาหารการกิน ทั้งนี้มีปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญ โดยภาพรวมปัญหาเหล่านี้พบได้มากในชนบทซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของประชากรของประเทศ และแหล่งสลัมในชุมชนเมืองในอีกด้านหนึ่งของปัญหาคือการได้สารอาหารเกิน ทำให้เกิดโรคอ้วน โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดัน เป็นต้น มักพบในกลุ่มประชากรซึ่งอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ต่างๆ และมีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมที่ดีกว่า นอกจากนี้การปรุงแต่งหรือขบวนการผลิตเพื่อถนอมอาหารโดยไม่ถูกหลักเกณฑ์ และมุ่งประโยชน์ทางการค้า โดยเฉพาะอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการผลิต และปรุงแต่งกลิ่นรส รวมถึงอิทธิพลการโฆษณาทำให้เกิดพิษภัยจากอาหารส่งผลต่อภาวะโภชนาการ